GPS Navigator คือ ระบบนำทางซึ่งในปัจจุบันเราจะพบมากทั้งในมือถือ PDA หรือแม้กระทั่งในรถยนต์ที่มีการเสริมในส่วนของระบบนำทางเข้าไป ซึ่งระบบ GPS Navigator นั้น โดยทั่วไปจะมีวิธีการเหมือนกัน ดังนี้
ระบบ GPS Navigator นั้น จะใช้ดาวเทียมในการส่งค่าเพื่อคำนวณตำแหน่งและพิกัดโดยใช้ตัวรับสัญญาณ GPS เพื่อเป็นการบอกตำแหน่งที่อยู่บนพิกัดโลก ซึ่งใช้ในการคำนวณจากตำแหน่งที่อยู่ปัจจุบันไปยังจุดหมายปลายทาง ซึ่งจะใช้งานร่วมกับ “ระบบแผนที่”
โดยการใช้วิธีจับคู่ตำแหน่งต่างๆ
ที่อ่านได้จากดาวเทียมกับค่าพิกัดในระบบแผนที่
ทั้งนี้อาจอาศัยเซ็นเซอร์อื่นๆ
ช่วยในการคำนวณระยะทางที่เดินทางได้แน่นอนขึ้น
ระบบแผนที่
ระบบแผนที่ คือ แผนที่ที่ใช้ในระบบนำทางหรือ GPS Navigator ซึ่งในปัจจุบันยังไม่มีมาตรฐานอย่างเป็นทางการส่วนใหญ่แผนที่ที่นิยมใช้กันโดยทั่วไปจะมาจาก 2 บริษัทยักษ์ใหญ่ คือ แผนที่จากบริษัทนาฟเทค (NavTeq)
และจากบริษัทเทเลเอตลาต (Tele Atlas) แต่นอกจาก 2 บริษัท
นี้ก็ยังมับริษัทอื่นๆ อีก แต่ไม่เป็นที่นิยม
เนื่องจากข้อมูลของแผนที่แต่ละประเทศมีขนาดข้อมูลมหาศาลและใช้เนื้อที่ในการ
เก็บขนาดใหญ่
ทำให้ไม่สามารถนำข้อมูลทุกอย่างที่เพื่อใช้ในซอฟต์แวรฺ์ของระบบนำร่องได้
จึงได้มีการนำข้อมูลแผนที่นั้นมาทำการจัดเรียงใหม่เพื่อความเหมาะสม
เพื่อประโยชน์ในเรื่องขนาดของแผนที่
ที่ต้องนำไปใช้ตลอดจนความรวดเร็วในการเข้าอ่านและประมวลผลข้อมูล
โดยในยุคสมัยนี้เมื่อมีเทคโนโลยีที่ล้ำสมัยขึ้น
สิ่งที่อำนวยความสะดวกก็มักจะล้ำสมัยขึ้น
ทุกวันนี้เราจะเห็นได้ว่ามีเทคโนโลยีต่างๆ เข้ามาอย่างมากมาย
โดยเฉพาะเทคโนโลยีที่เกี่ยวกับเครื่องมือการสื่อสาร
เวลาที่เราจะเดินทางไปไหนเราก็มักจะใช้เครื่องมือสื่อสารเป็นตัวช่วยอยู่
เสมอ ที่สำคัญเมื่อเราจะเดินทางนั้นเราก็ต้องรู้เส้นทางในการเดินทาง
แต่คงไม่มีใครอยากขับรถไปดูแผนที่ในมือถือหรือหยิบแผนที่ขึ้นมากางหรอกจิง
ไหม? เพราะในยุคนี้เป็นยุคเทคโนโลยีไปแล้ว ทุกคนจึงต่างหาจีพีเอสนำทางเพื่อติดรถยนต์ของตัวเองเพื่อช่วยในการนำทางและตรวจสอบเส้นทางจราจรก่อนเดินทาง ที่สำคัญเมื่อท่านมีจีพีเอสนำทางแล้ว ไม่เพียงแค่นำทางเพียงอย่างเดียวเท่านั้น จีพีเอสนำทางของท่านจะช่วยเป็นหูเป็นตาให้ท่านได้อีกด้วยเมื่อท่านติดอุปกรณ์เสริมกล้องติดรถยนต์เพื่อไว้ใช้เป็นหลักฐานในกาเกิดอุบัติเหตุได้อีกด้วย เห็นไหมว่าจีพีเอสนำทางมีประโยชน์มากมายแค่ไหน สำหรับท่านใดที่สนใจเครื่องจีพีเอสนำทาง ท่านสามารถเข้าไปดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.GPSsociety.com
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น